www.rakapalm.com
เว็บราคาปาล์ม อันดับ 1 ของไทย

หน้าแรก > ข่าวสำคัญ และ บทวิเคราะห์ราคาปาล์มทั่วไป (ทั่วโลก) > ข้อพิพาท น้ำมันปาล์ม ใน องค์การการค้าโลก |สกล หาญสุทธิวารินทร์
ข้อพิพาท น้ำมันปาล์ม ใน องค์การการค้าโลก |สกล หาญสุทธิวารินทร์

ข้อพิพาท น้ำมันปาล์ม ใน องค์การการค้าโลก |สกล หาญสุทธิวารินทร์

By สกล หาญสุทธิวารินทร์ | ค้าๆขายๆกับกฎหมายธุรกิจ02 พ.ย. 2564 เวลา 6:18 น.

ข้อพิพาท น้ำมันปาล์ม ใน องค์การการค้าโลก |สกล หาญสุทธิวารินทร์

อินโดนีเซีย มาเลเซีย กล่าวหาว่าข้อกำหนดเรื่องพลังงานหมุนเวียนฉบับใหม่ของ สหภาพยุโรป สร้างความไม่เป็นธรรมต่อเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน กลายเป็นข้อพิพาทที่นำมาสูู่การยื่นเรื่องร้องเรียนต่อองค์การการค้าโลก

 ภาวะโลกร้อน อันเนื่องมาจากการปล่อยกาซเรือนกระจก ทำให้เกิดการตื่นตัวที่ทุกประเทศต้องช่วยกันกำหนดมาตรการที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้เป็นไปตามความตกลงปารีส โดยสหภาพยุโรปส่งเสริมให้สมาชิกใช้พลังงานหมุนเวียน โดยกำหนดให้สมาชิกต้องใช้พลังงานหมุนเวียนตามเป้าที่กำหนด
                   สหภาพยุโรปนำเข้าน้ำมันปาล์มปีละประมาณ 7 ล้านตัน น้ำมันปาล์มที่นำเข้านอกจากนำไปใช้ปรุงอาหาร ใช้ เป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องสำอาง  ผลิตภัณฑ์อาหาร ที่เหลือประมาณการกันว่าประมาณร้อยละ70 ของน้ำมันปาล์มที่นำเข้า นำไปผลิตใบโอดีเซลใช้ในรถยนต์นั่งและรถบรรทุก
               อย่างไรก็ตามสหภาพยุโรปก็เห็นว่า การใช้พลังงานหมุนเวียนจากพืชเพิ่มมากขึ้น ก็จะทำให้มีการขยายพื้นที่ปลูกพืชพลังงานมากขึ้น อาจไปแย่งพื้นที่ปลูกพืชอาหาร แต่ความต้องการพืชอาหารยังคงมีอยู่ไม่น้อยไปจากเดิมหรืออาจเพิ่มมากขึ้น ก็ต้องมีการขยายพื้นที่เพาะปลูก จนรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่อื่นฯที่เคยเป็นที่ช่วยกักเก็บก๊าซเรือนกระจก เช่นป่าไม้ ป่าพรุ กระบวนการดังกล่าวเรียกว่า การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินทางอ้อม (indirect land use change :iluc )
    เมื่อพื้นที่ทำการเกษตรพืชอาหาร รุกเข้าไปในแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจก ก็จะทำให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น จึงได้ข้อสรุปว่าการใช้พลังงานหมุนเวียนจากพืชที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินทางอ้อม จะไม่ช่วยในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่จะเกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมทำให้มีรุกล้ำขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชพลังงานเหล่านั้นเข้าไปทำลายป่ามากขึ้น

 สหภาพยุโรป จึงแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้พลังงานหมุนเวียนออกประกาศใช้ข้อกำหนดฉบับใหม่คือ Renewable Energy Directive2018//2001/EU ที่เรียกว่าREDll แทนฉบับเดิม

หลักการสำคัญคือกำหนดเป้าหมายให้สมาชิกใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ32 ภายในปี 2573 โดยมีกลไกคือพลังงานหมุนเวียนที่ใช้ หากเป็นพลังงานหมุนเวียนจากพืชที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่สูง จะมิให้นำมารวมในตัวเลขเป้าหมายที่กำหนดให้ใช้พลังงานหมุนเวียน
            สำหรับน้ำมันปาล์มนั้นสหภาพยุโรป เห็นว่าผลิตจากการทำสวนปาล์มที่เป็นต้นเหตุให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกเข้าไปทำลายป่าสูง สหภาพยุโรปจึงมีเป้าหมายที่ค่อยฯลดการใช้น้ำมันปาล์มผลิตใบโอดีเซล จนเหลือเป็นศูนย์ภายในปี2573 โดยจะหันมาใช้น้ำมันทานตะวันที่ผลิตได้ในสหภาพยุโรปแทน  เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวจึงมีประเทศสมาชิกบางประเทศเริ่มกำหนดมาตรการจำกัดการนำเข้าน้ำมันปาล์มแล้ว
               ผลจากการแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดและใช้ข้อกำหนดพลังงานหมุนเวียนฉบับใหม่ของสหภาพยุโรปดังกล่าว รวมทั้งกรณีที่สมาชิกบางประเทศกำหนดมาตรการในการจำกัดการนำเข้าน้ำมันปาล์ม ส่งผลกระทบต่อประเทศผู้ปลูกปาล์มน้ำมันและผลิตน้ำมันปาล์มส่งออกไปสหภาพยุโรป โดยเฉพาะผู้ผลิตและผู้ส่งออกรายใหญ่ คืออินโดนีเซีย มาเลเซีย

     ทั้งสองประเทศแสดงท่าทีว่าข้อกำหนดเรื่องพลังงานหมุนเวียนฉบับใหม่ของสหภาพยุโรป REDll และการใช้มาตรการการจำกัดการนำเข้าน้ำมันปาล์มของสมาชิกบางประเทศไม่สอดคล้อง กับความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลกหลายฉบับ  และไม่เป็นธรรมต่อเกษตรกรผู้ทำสวนปาล์มน้ำมันยากจนมากมายหลายหมื่นครอบครัว         

อินโดนีเซีย และมาเลเซียจึงนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาทขององค์การการค้าโลก คือ

 กรณีของอินโดนีเซีย   เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2562 อินโดนีเซียยื่นคำขอขอปรึกษาหารือกับสหภาพยุโรป กรณีที่สหภาพยุโรปได้ประกาศใช้ข้อกำหนดพลังงานหมุนเวียน ฉบับใหม่คือ Renewable Energy Directive2018//2001/EU และกฎระเบียบย่อยภายใต้ข้อกำหนดดังกล่าว และมาตรการที่กำหนดขึ้นโดยฝรั่งเศส ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าน้ำมันปาล์มและผลผลิตปาล์มน้ำมันที่ใช้ผลิตใบโอดีเซล โดย กล่าวหาว่าข้อกำหนดและกฎระเบียบย่อยของสหภาพยุโรปดังกล่าวและมาตรการที่ฝรั่งเศสกำหนดขึ้น ฝ่าฝืนต่อความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าภายใต้องค์การการค้าโลก    
                เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม2563 องค์การการค้าโลกได้ตั้ง คณะผู้เจรจา ขึ้นพิจารณาเรื่องนี้ตามกลไกระงับข้อพิพาทขององค์การการค้าโลก มีประเทศที่สามหลายประเทศ รวมทั้งไทยขอสงวนสิทธิในฐานะประเทศที่สาม ขณะนี้อยู่ในกระบวนการการพิจารณาตามกลไกระงับข้อพิพาท           
               กรณีของมาเลเซีย      เมื่อวันที่15 มกราคม 2564 มาเลเซียร้องขอปรึกษาหารือกับสหภาพยุโรป ฝรั่งเศส ลิธัวเนีย กรณีสหภาพยุโรป ฝรั่งเศสลิธัวเนีย กำหนดมาตรการบางประการอันเกี่ยวข้องกับการนำเข้าน้ำมันปาล์ม ผลิตผลปาล์มน้ำมัน ที่ใช้เป็นวัตถุดิบผลิตใบโอดีเซลจากมาเลเซีย  ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของกระบวนการตามกลไกระงับข้อพิพาท ขององค์การการค้าโลก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งที่การกล่าวกันทั่วไปคือ การเริ่มต้นของกระบวนการฟ้อง สหภาพยุโรป ฝรั่งเศส ลิธัวเนีย ต่อองค์การการค้าโลก โดยกล่าวหาว่ามาตรการที่สหภาพยุโรป กำหนดขึ้นโดยเฉพาะข้อกำหนดพลังงานหมุนเวียนฉบับใหม่ของสหภาพยุโรป ที่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับความเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินทางอ้อม และเงื่อนไขอื่นๆ ฝ่าฝืนความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า และ ความตกลงแกตต์1994 ส่วนมาตรการที่กำหนดขึ้นในการเก็บภาษีกิจกรรมที่ทำให้เกิดมลพิษ ของฝรั่งเศสและลิธัวเนีย ขัดต่อความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนและมาตรการตอบโต้และความตกลงแกตต์ 1944
    ในวันที่15 เมษายน 2564 มาเลเซีย ร้องขอให้ตั้งคณะผู้พิจารณา  ต่อมาในการประชุมองค์กรระงับข้อพิพาทเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 ประเทศที่สามหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยขอสงวนสิทธิของประเทศที่สาม ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 ผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก ได้แต่งตั้งองค์คณะผู้พิจารณาเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป


                 ประเทศไทย สำหรับประเทศไทยที่ปลูกและผลิตน้ำมันปาล์มรองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย ก็จะได้รับผลกระทบจากข้อกำหนดเรื่องพลังงานหมุนเวียนฉบับใหม่ของสหภาพยุโรปและมาตรการที่เกี่ยวกับน้ำมันปาล์มของประเทศสมาชิก สหภาพยุโรปอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และจะมีผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อยผู้ทำสวนปาล์มแน่นอน ก็คงต้องรอผลการพิจารณาขององค์การการค้าโลก กรณีของอินโดนีเซียและมาเลเซีย ต่อไป         

                ถ้าผลการพิจารณาขั้นสุดท้ายตัดสินว่าข้อกำหนดของสหภาพยุโรปและมาตรการของประเทศสมาชิกที่เกี่ยวกับน้ำมันปาล์มไม่ขัดต่อความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลก หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องควรเสนอแนะให้ความรู้แก่ เกษตรกรที่ทำสวนปาล์ม ให้ปรับตัวไปปลูกพืชอื่นต่อไป 
แต่ถ้าผลการพิจารณาตัดสินว่าขัดต่อความตกลง ข้อกำหนดของสหภาพยุโรปและมาตรการของประเทศสมาชิกเกี่ยวกับน้ำมันปาล์มดังกล่าวก็ต้องยกเลิกใช้บังคับต่อไปไม่ได้  แต่เกษตรกรก็ต้องเตรียมการเตรียมตัวปรับตัวไว้แต่เนิ่นๆ เพราะในอนาคตมาตรการที่เกี่ยวกับการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อลดภาวะโลกร้อน จะเป็นประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าและการค้าสินค้าโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้.

 

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ https://www.bangkokbiznews.com/columnist/969332?fbclid=IwAR1MhduQazAd1z1GWoPslROnkkkJ11DOtcdNHQsNcUhlROStD3KQ_9RzoIA



เวลาโพส : 2021-11-02 13:05:42

( แสดงความคิดเห็น )
1
กระทู้ล่าสุด
รายละเอีัยด
ผู้โพส
VIP วิเคราะห์จากกราฟ ปาล์ม (CRUDE PALM OIL-RINGGIT FUTURES) ล่าสุด 26 พฤศจิกายน 2567 (อ่าน 181 )
เวลาโพส : 2024-11-26 23:40:19
Rakayang
VIP วิเคราะห์จากกราฟ ปาล์ม (CRUDE PALM OIL-RINGGIT FUTURES) ล่าสุด 25 พฤศจิกายน 2567 (อ่าน 105 )
เวลาโพส : 2024-11-25 18:37:10
Rakayang
VIP วิเคราะห์จากกราฟ ปาล์ม (CRUDE PALM OIL-RINGGIT FUTURES) ล่าสุด 22 พฤศจิกายน 2567 (อ่าน 209 )
เวลาโพส : 2024-11-22 20:42:04
Rakayang
VIP วิเคราะห์จากกราฟ ปาล์ม (CRUDE PALM OIL-RINGGIT FUTURES) ล่าสุด 21 พฤศจิกายน 2567 (อ่าน 100 )
เวลาโพส : 2024-11-21 20:27:04
Rakayang
VIP วิเคราะห์จากกราฟ ปาล์ม (CRUDE PALM OIL-RINGGIT FUTURES) ล่าสุด 20 พฤศจิกายน 2567 (อ่าน 215 )
เวลาโพส : 2024-11-20 19:15:25
Rakayang
VIP วิเคราะห์จากกราฟ ปาล์ม (CRUDE PALM OIL-RINGGIT FUTURES) ล่าสุด 19 พฤศจิกายน 2567 (อ่าน 165 )
เวลาโพส : 2024-11-19 18:36:54
Rakayang
VIP ‘พีระพันธุ์’ ดันร่างกฎหมายส่งเสริมปาล์มน้ำมัน รับมือเลิกชดเชยไบโอดีเซล (อ่าน 237 )
เวลาโพส : 2024-11-18 20:22:54
Rakayang
VIP วิเคราะห์จากกราฟ ปาล์ม (CRUDE PALM OIL-RINGGIT FUTURES) ล่าสุด 18 พฤศจิกายน 2567 (อ่าน 186 )
เวลาโพส : 2024-11-18 20:13:02
Rakayang
VIP วิเคราะห์จากกราฟ ปาล์ม (CRUDE PALM OIL-RINGGIT FUTURES) ล่าสุด 14 พฤศจิกายน 2567 (อ่าน 188 )
เวลาโพส : 2024-11-14 21:20:53
Rakayang
VIP วิเคราะห์จากกราฟ ปาล์ม (CRUDE PALM OIL-RINGGIT FUTURES) ล่าสุด 13 พฤศจิกายน 2567 (อ่าน 162 )
เวลาโพส : 2024-11-13 20:50:37
Rakayang

กรุณาล็อคอิน ก่อนเข้าดูครับ