www.rakapalm.com
เว็บราคาปาล์ม อันดับ 1 ของไทย

หน้าแรก > ข่าวสำคัญ และ บทวิเคราะห์ราคาปาล์มทั่วไป (ทั่วโลก) > การดูแลรักษา ปาล์มน้ำมัน
การดูแลรักษา ปาล์มน้ำมัน

การดูแลรักษา

การอนุบาลต้นกล้า การอนุบาลต้นกล้า สามารถแยกเป็น 2 ระยะสำคัญคือ

1. ระยะ Prenursery

      การเลี้ยงต้นอ่อนระยะแรกต้องทำอย่างระมัดระวัง ต้องมีการบังร่มเงาในระยะแรกหากเพาะต้นอ่อนในกะบะทราย ควรทำร่มเงาให้มีความสูงประมาณ 2 เมตร โดยมุงไว้กับใบมะพร้าวหรือวัสดุที่พอหาได้ และต้องดูแลแมลงศัตรูและทำการคัดต้นที่ผิดปกติและเป็นโรคทิ้งไป  ทำการป้องกันโรคและแมลงด้วยสารเคมี ในการเพาะเมล็ดนั้น   การวางเมล็ดปลูกหากเป็นกะบะทราย  จะต้องวางเมล็ดเป็นแถวเป็นแนวเพื่อความสะดวกในการดูแลรักษา และระยะระหว่างต้นและแถวมีความห่าง ประมาณ 5 เซนติเมตร แต่หากปลูกในถุงพลาสติกขนาดเล็กก็ใช้ จำนวน 1 เมล็ดต่อ 1 ถุง โดยวิธีการวางเมล็ดนั้นต้องวางให้ส่วนของยอดอ่อนชี้ตั้งตรงและส่วนของรากวางอยู่ข้างล่าง และไม่ควรฝังลึกมากนัก ประมาณให้ท่วมยอดต้นอ่อนหรือให้ยอดโผล่เหนือดินเล็กน้อย
หากเพาะต้นอ่อนลงในกะบะทราย เมื่อมีอายุประมาณ 1 เดือน หรือมีใบ จำนวน 2 ใบ จะต้องย้ายต้นไปใส่ในถุงพลาสติกที่มีขนาดใหญ่  แต่หากเป็นการเพาะลงในถุงพลาสติกขนาดเล็ก อาจจะเลี้ยงต้นไว้ประมาณ 2 ถึง 4 เดือน แล้วจึงทำการย้ายลงถุงพลาสติกขนาดใหญ่

การให้ปุ๋ย  ในระยะแรกของการเจริญเติบโต ต้นอ่อนอาจจะยังไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย เนื่องจากจะใช้อาหารสำรองภายในเมล็ด แต่เมื่ออาหารสำรองภายในเมล็ดหมด ก็จำเป็นจะต้องใส่ปุ๋ย โดยปุ๋ยที่ใช้จะเป็นปุ๋ยสูตร 15-15-6-4 โดยใส่ปุ๋ยทุกสัปดาห์  และหลังจากต้นกล้ามีอายุประมาณ 1 เดือน ก็ใช้ปุ๋ยในอัตรา 7 กรัมผสมน้ำ 5 ลิตร แล้วทำการฉีดพ่นให้ต้นกล้า

การให้น้ำ  ในระยะนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากต้นกล้าปาล์มยังมีขนาดเล็ก และยังต้องการความชื้นอย่างเพียงพอต่อการเจริญเติบโต  หากขาดน้ำจะทำให้การเจริญเติบโตช้า มีรูปร่างผิดปกติ และอ่อนแอต่อการทำลายของโรค ปกติต้องให้น้ำต้องให้น้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ในช่วงเวลาเช้าและเย็น

2. ระยะ Main Nursery

      การเลือกพื้นที่สำหรับการอนุบาลต้นกล้าในระยะนี้มีความสำคัญ  โดยพื้นที่ที่เลือกจะต้องเป็นที่ราบสม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง  มีทางระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง  และควรเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับเรือนเพาะชำ เพื่อความสะดวกในการขนย้ายกล้าลงปลูก

      ทำการบรรจุดินลงในถุงดำ ขนาด 15 x 18 นิ้ว ที่ได้ทำการเจาะรูระบายน้ำไว้ด้านล่างและด้าน ข้างของถุง หลังจากนั้นทำการย้ายต้นกล้าลงปลูกในถุงที่เตรียมไว้ และวางถุงพลาสติกที่ปลูกต้นปาล์มเรียบร้อยแล้วไปวางไว้ในพื้นที่ดังกล่าว  โดยวิธีการวางถุงให้วางเป็นรูปสามเหลี่ยม  มีระยะห่างกัน 90 x 90 x 90 เซนติเมตร และอาจจะเว้นทางเดินไว้สำหรับการรดน้ำหรือติดระบบน้ำ ขนาด 1 ถึง 1.2 เมตรทุกๆ ระยะ 15 ถึง 20 เมตร ตามความกว้างของแปลง
การให้ปุ๋ย ปุ๋ยที่ใช้ ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-6-4 สลับกับปุ๋ยสูตร 12-12-17-2 ในอัตราดังแสดงในตารางข้างล่าง วิธีการให้ปุ๋ยให้ใช้วิธีการหว่านรอบๆ โคนต้น  เพื่อไม่ให้ปุ๋ยถูกใบปาล์ม โดยทำการอนุบาลต้นกล้าจนกระทั่งต้นกล้ามีขนาดโตพอสมควร หรือมีอายุประมาณ 12 ถึง 14 เดือน จึงจะสามารถย้ายต้นกล้าลงปลูกในแปลงที่เตรียมไว้

ตารางการใส่ปุ๋ยใน  Main Nursery

อายุต้นกล้า (เดือน)

ชนิดของปุ๋ย

อัตรา (กรัมต่อต้น)

4

15-15-6-4

10

5

12-12-17-2

10

6

15-15-6-4

15

7

12-12-17-2

15

8

15-15-6-4

20

9

12-12-17-2

20

10

15-15-6-4

25

11

12-12-17-2

30

12

15-15-6-4

35

13

12-12-17-2

35

14

15-15-6-4

35

15

12-12-17-2

35

ที่มา: กรมวิชาการเกษตร

การตัดแต่งทางใบ

      การตัดแต่งทางใบปาล์มน้ำมัน   มีวัตถุประสงค์เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน เช่น การกำจัดวัชพืช การให้ปุ๋ย การเก็บเกี่ยว เป็นต้น แต่ในทางทฤษฎีแล้วต้องการตัดทางใบออกให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อช่วยในการปรุงอาหาร ปาล์มน้ำมันที่มีขนาดเล็กและยังไม่ให้ผลผลิต    ควรตัดทางใบล่างสุดโดยรอบลำต้นออกก่อน เพื่อให้ง่ายต่อการกำจัดวัชพืชบริเวณรอบโคนต้น หลังจากนั้นจึงค่อยตัดทางใบในตำแหน่งเหนือขึ้นไป ส่วนปาล์มน้ำมันที่โตแล้วนิยมตัดทางใบให้เหลือสำหรับรองรับทะลายปาล์มเพียง 2 ทาง และเพื่อสะดวกในการเก็บเกี่ยวทางใบที่ถูกตัดเรียบร้อยแล้วควรวางเรียงให้กระจายไว้รอบโคนต้น หรือวางเรียงซ้อน 2 ถึง 3 ชั้น และวางเป็นแถวระหว่างแถวต้นปาล์ม จะเป็นการช่วยเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน และสามารถรักษาความชุ่มชื้นของดินได้อีกทางหนึ่งด้วย

การตัดช่อดอกทิ้งในระยะแรก

      ปาล์มน้ำมันจะเริ่มให้ผลผลิตเมื่อมีอายุประมาณ 3 ปีหลังการปลูก มีคำแนะนำให้ทำการตัดช่อดอกที่เกิดขึ้นในระยะแรกทิ้งเพื่อให้การเจริญเติบโตของต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่แทนที่จะต้องใช้อาหารส่วนหนึ่งไปเลี้ยงผล ซึ่งในระยะแรกต้นมักมีขนาดเล็กและไม่สมบูรณ์ เปอร์เซ็นต์ของน้ำมันระดับต่ำ ไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ บางครั้งการเกิดช่อดอกในระยะแรกจะให้ช่อดอกกระเทย คือ มีส่วนของดอกตัวผู้และตัวเมียอยู่ในช่อดอกเดียวกัน ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่ดี ควรจะทำการตัดทิ้ง
การตัดช่อดอกทิ้ง  มักจะเริ่มทำตั้งแต่ต้นปาล์มมีอายุเพียง 14 เดือนหลังย้ายปลูกจนถึง  26 เดือน หลังจากนั้นจึงปล่อยให้ช่อดอกเจริญเติบโตเป็นผลที่สมบูรณ์

การช่วยผสมเกสร
 
      ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่มีช่อดอกตัวผู้และช่อดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน แต่แยกกันอยู่คนละช่อ เนื่องจากเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียในต้นมีช่วงการบานไม่พร้อมกัน ปาล์มน้ำมันจึงจัดเป็นพืชผสมข้าม การผสมเกสรระหว่างต้นเกิดขึ้นโดยลม หรือแมลงเป็นตัวนำ ในระยะแรกของการติดผลมีการสร้างช่อดอกน้อย ละอองเกสรจึงอาจมีไม่เพียงพอ ทำให้การติดผลค่อนข้างต่ำ รวมไปถึงสภาพอากาศ เช่น ในช่วงที่มีฝนตกชุก การผสมเกสรอาจต่ำกว่าปกติ ดังนั้นการช่วยผสมเกสรในระยะแรกจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมันในบางพื้นที่
วิธีการทำโดยตัดช่อดอกตัวผู้ที่บานแล้วเคาะให้ละอองเกสรหลุดร่วงลงไปในถุงกระดาษ หากจะทำการเพิ่มจำนวนของละอองเกสรเพื่อช่วยการผสมในวันถัดมา  จะต้องนำละอองเกสรมาผึ่งแดดให้แห้ง และนำมาผสมใน Desiccators  หลังจากเก็บละอองเกสรมาแล้วจึงนำไปผสมกับผง Talcum ในอัตราส่วนละอองเกสรต่อผง Talcum 1 ต่อ 5 แล้วนำไปผสมกับช่อดอกตัวเมียที่พร้อมจะรับการผสม เนื่องจากวิธีการดังกล่าวนี้ต้องใช้แรงงานคนช่วย โดยเฉพาะในพื้นที่ขนาดใหญ่และจะทำให้สิ้นเปลืองแรงงาน   จึงได้มีผู้นำด้วงชนิดหนึ่งมาจากอัฟริกา เรียกว่า ด้วงงวงดอกปาล์มน้ำมัน (Elaeidobius Karumericus) โดยการนำมาปล่อยในสวนปาล์มเพื่อช่วยในการผสมเกสร ด้วงชนิดนี้จะขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วและไม่ทำอันตรายต่อต้นปาล์ม และพบว่าการผสมละอองเกสารได้รับผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ

การให้น้ำ

      ในสภาพของพื้นที่ในอยู่ในช่วงฤดูแล้งที่ยาวนาน หรือสภาพพื้นที่ที่มีการขาดน้ำมากกว่า 250 มิลลิเมตรต่อปี หากมีแหล่งน้ำเพียงพอก็ควรจะให้มีการให้น้ำเสริมในช่วงฤดูแล้ง ในปริมาณ 150 ถึง 200 ลิตรต่อต้นต่อวัน

การใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยเคมีปาล์มน้ำมัน  จะเป็นการใส่ปุ๋ยเดี่ยวของปาล์มน้ำมันที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไป โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ระยะเวลา และการแบ่งใส่
      ควรจะใส่ปุ๋ยเมื่อดินมีความชื้นเพียงพอ และหลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยเมื่อมีสภาพอากาศแห้งแล้งจัดหรือมีฝนตกหนัก และในระยะปีแรกหลังจากปลูกควรใส่ปุ๋ย จำนวน 4 ถึง 5 ครั้ง และตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไป ควรใส่ปุ๋ย จำนวน 3 ครั้งต่อปี  ส่วนช่วงที่เหมาะสมในการใส่ปุ๋ยคือ ช่วงต้นฤดูฝน กลางฤดูฝน และปลายฤดูฝน ตั้งแต่ปีที่ 5 ขึ้นไป อาจจะพิจารณาใส่ปุ๋ยเพียงปีละ 2 ครั้ง หากสภาพแวดล้อมเหมาะสมสำหรับการใส่ปุ๋ย (ตามอัตราที่แนะนำ) ก็ควรจะแบ่งใส่ จำนวน 3 ครั้งต่อปี และแนะนำให้ใช้สัดส่วน 50 ต่อ 25 ต่อ 25 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการใส่ปุ๋ย ในช่วงต้นฤดูฝน กลางฤดูฝน และปลายฤดูฝน และเมื่อแบ่งใส่ จำนวน 2 ครั้งต่อปี ให้ใช้สัดส่วน 60 ต่อ 40 เปอร์เซ็นต์  ในช่วงระยะต้นฤดูฝนและก่อนปลายฤดูฝนตามลำดับ

  1. ช่วงต้นฤดูฝน คือ ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน

  2. ช่วงกลางฤดูฝน คือ ประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน

  3. ช่วงปลายฤดูฝน คือ ประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน

2. วิธีการใส่ปุ๋ย

      ปีที่ 1 ใส่ปุ๋ยเมื่อมีการย้ายกล้าปลูก (กล้าปาล์มมีอายุ 10 ถึง 12 เดือน) ให้ใส่ร็อกฟอสเฟตเพื่อรองก้นหลุม ประมาณ 250 กรัมต่อหลุม เนื่องจากปุ๋ยนี้จะตกค้างเป็นประโยชน์ได้ระยะเวลา 2 ถึง 3 ปี จึงไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยทุกปี  และหลังจากปลูกแล้วทุก 3 เดือน ก็ให้ใส่ปุ๋ยสูตร  20-11-11+1.2 MgO ต้นละ 200 ถึง 300 กรัม และใส่อีกครั้งเมื่อปลูกและมีอายุได้ 6 เดือนในอัตราเดิม และใส่อีกครั้งเมื่ออายุ 9 เดือนในอัตราเดิม

      ปีที่ 2  ใส่ปุ๋ยเมื่ออายุได้ 18 เดือนใส่ปุ๋ยสูตร 14-9-20+2 MgO ในอัตราต้นละ 400 ถึง 500 กรัม เมื่ออายุได้ 24 เดือนเต็ม ใช้ปุ๋ยสูตรเดิม คือ 14-9-20+2 MgO ในอัตราต้นละ 0.5 กิโลกรัม ร่วมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (สูตร 0-0-60) ในอัตราต้นละ 0.5 กิโลกรัม

      ปีที่ 3 ใส่ปุ๋ยเมื่ออายุปาล์มได้ 30 เดือน ใช้ปุ๋ยสูตร 14-9-20+2 MgO ในอัตราต้นละ 800 กรัม และเมื่อปาล์มอายุได้ 36 เดือน ใช้ปุ๋ยสูตร 14-14-21 ในอัตราต้นละ 1 กิโลกรัม

      ปีที่ 4  ใส่ปุ๋ยเมื่ออายุปาล์มได้ 42 เดือน ใช้ปุ๋ยสูตร 14-9-20+2 MgO ในอัตราต้นละ 1.5 กิโลกรัม ร่วมกับปุ๋ยร็อกฟอสเฟตอีกในอัตราต้นละ 1 กิโลกรัม (สูตร 0-3-0) และปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (สูตร 0-0-60)อัตราต้นละ 1.5 กิโลกรัม

      ปีที่ 5  ใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยสูตร 14-9-20+2 MgO ในอัตราต้นละ 2 กิโลกรัม ใส่ ร่วมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (สูตร 0-0-60) ในอัตราต้นละ 1.5 กิโลกรัม ครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยสูตร 14-14-21 อัตราต้นละ 2 กิโลกรัม

      ปีที่ 6  ใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง โดยใช้ปุ๋ยสูตรเดิม คือครั้งแรกใส่ปุ๋ยสูตร 14-9-20+2 MgO ในอัตราต้นละ 2 กิโลกรัม ร่วมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (สูตร 0-0-60) ในอัตราต้นละ 1.5 กิโลกรัม ครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยสูตร 14-14-21 อัตราต้นละ 2 กิโลกรัม

      ปีที่ 7  ใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยสูตร 14-9-20+2 MgO ในอัตราต้นละ 2 กิโลกรัม ใส่ ร่วมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (สูตร 0-0-60) ในอัตราต้นละ 1.5 กิโลกรัม  และครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยสูตร 14-14-21 ในอัตราต้นละ 2.5 กิโลกรัม

      ปีที่ 8  ใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยสูตร 14-9-20+2 MgO ในอัตราต้นละ 2.5 กิโลกรัม ร่วมกับปุ๋ยโปแทสเซียมคลอไรด์ (สูตร 0-0-60) ในอัตราต้นละ 2 กิโลกรัมและปุ๋ยร็อกฟอสเฟตอัตราต้นละ 2 กิโลกรัมครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยสูตร 14-14-21 ในอัตราต้นละ 2.5 กิโลกรัม

      ปีที่ 9   การใส่ปุ๋ยตั้งแต่ปีที่ 9 เป็นต้นไป ต้องใช้ปุ๋ยร็อกฟอสเฟต เพราะปุ๋ยร็อกฟอสเฟตใส่ 3 ปี ต่อครั้ง ไม่ต้องใส่ทุกปี ส่วนปุ๋ยสูตรอื่นๆ ยังคงใส่เหมือนเดิมทุกปี ดังนี้

  1. ปุ๋ยสูตร 20-11-11+1.2 MgO เป็นปุ๋ยหลักที่ใส่ให้กับปาล์มที่ปลูกในปีแรก

  2. ปุ๋ยสูตร 14-9-20+2 MgO เป็นสูตรปุ๋ยที่ใช้ใส่ต้นปาล์มทุกปี

  3. ปุ๋ยสูตร 0-0-60 หรือ ปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ โดยใช้ร่วมกับปุ๋ยสูตร 14-9-20+2 MgO ปุ๋ยทั้ง 2 สูตรนี้ ใส่ให้ต้นปาล์มครั้งแรกของทุกปี

  4. ปุ๋ยสูตร 14-14-21 (หรือปุ๋ยสูตรตัวท้ายอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน) เป็นปุ๋ยที่ใส่ให้ต้นปาล์มทุกปีๆ ละ 1 ครั้ง (ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2)

  5. ปุ๋ยร็อกฟอสเฟตใส่ทุกๆ  2 ปี หรือทุกๆ 3 ปี ก็ได้ ประมาณ 2 กิโลกรัมต่อต้น

      การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้ว ควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยสูตร 14-9-20+2 MgO ผสมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (สูตร 0-0-60) หรือบางปีอาจจะใส่ร่วมกับปุ๋ยร็อกฟอสเฟตด้วยเมื่อมีความจำเป็นเมื่อผสมปุ๋ยทั้ง 3 สูตรนี้เข้าด้วยกันแล้ว จะต้องรีบใส่ให้ต้นปาล์มน้ำมันทันที ในสวนปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่ ค่าใช้จ่ายเป็นค่าซื้อปุ๋ยจะเป็นค่าใช้จ่ายที่มากที่สุด  และในบางครั้งก็อาจจะได้รับผลตอบแทนไม่คุ้มค่า หรือเกิดการสูญเปล่า ดังนั้นในสวนปาล์มน้ำมันขนาดใหญ่  จึงควรตระหนักเกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิต  การใช้ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพ โดยอาจจะพิจารณาจากผลการวิเคราะห์ดินใบปาล์มน้ำมัน  อัตราปุ๋ยและชนิดปุ๋ย    ทั้งนี้เพื่อจะลดการสูญเสีย  เนื่องจากขาดความเอาใจใส่ในการใส่ปุ๋ยให้มากที่สุด  อย่างไรก็ตามความผิดพลาดต่างๆ ที่มักพบโดยทั่วไป คือ

  • ใส่ปุ๋ยผิดวิธี การใส่ปุ๋ยในลักษณะเป็นบริเวณแคบๆ หรือกองไว้เป็นจุดๆ แทนที่จะหว่านให้ทั่วบริเวณนั้น อาจจะเป็นอันตรายกับรากและทำให้เกิดการสูญเสียเนื่องจากการชะล้างและไหลบ่าได้

  • เวลาในการใส่ปุ๋ยไม่เหมาะสม  การใส่ปุ๋ยในขณะที่ดินมีความแห้งหรือเปียก

  • กินไป จะส่งผลต่อการสูญเสียไนโตรเจนมากที่สุด

  • ปริมาณใส่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในปาล์มเล็ก

  • ความไม่สมดุลระหว่างธาตุอาหารที่ใส่

  • ใส่ไม่ถูกต้อง (ใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือไม่เหมาะสม

ที่มา https://www.arda.or.th/kasetinfo/south/palm/controller/01-11.php



เวลาโพส : 2021-09-17 20:05:44

( แสดงความคิดเห็น )
1
กระทู้ล่าสุด
รายละเอีัยด
ผู้โพส
VIP กษ.นราธิวาส ร่วมตรวจสต็อกน้ำมันปาล์ม ประจำเดือนพฤษภาคม 2568 (อ่าน 50 )
เวลาโพส : 2025-05-07 13:31:48
Rakayang
VIP โรงสกัดปาล์มตรัง ขานรับค้าภายใน ซื้อปาล์ม 5 บาทต่อกก. แต่มีเงื่อนไข แบ่งราคารับซื้อ 3 กลุ่ม (อ่าน 58 )
เวลาโพส : 2025-05-06 20:10:29
Rakayang
VIP จังหวัดตรังตรวจสอบสต็อกน้ำมันปาล์มคงเหลือทั้งระบบ ณ วันที่ 30 เมษายน 2568 (อ่าน 293 )
เวลาโพส : 2025-04-30 16:42:27
Rakayang
VIP พาณิชย์จังหวัดชลบุรี ตรวจสอบสต๊อกน้ำมันปาล์มคงเหลือทั้งระบบ ระดับจังหวัด จังหวัดชลบุรี และผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ ลงพื้นที่ตรวจสอบสต๊อกน้ำมันปาล์มของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ในวันที่ 28 - 29 เมษายน 2568 (อ่าน 121 )
เวลาโพส : 2025-04-30 15:55:05
Rakayang
VIP พาณิชย์ ออก 4 มาตรการด่วน แก้ปัญหาราคาปาล์ม รับซื้อ 5 บาท/กก. ดีเดย์ 2 พ.ค. นี้ (อ่าน 577 )
เวลาโพส : 2025-04-30 12:57:26
Rakayang
VIP ชาวสวนปาล์มวิกฤตหนักราคาดิ่งหลังสงกรานต์ เหลือ 4 บาท/กก. (อ่าน 503 )
เวลาโพส : 2025-04-23 13:37:28
Rakayang
VIP น้ำมันปาล์ม: รหัสตลาดรอมฎอนปี 2024 และข้อเสนอแนะการกำหนดค่าภายใต้การผสมผสานของขาขึ้นและขาลงในปี 2025 (อ่าน 163 )
เวลาโพส : 2025-03-28 19:32:23
Rakayang
VIP รอยเตอร์ชี้ โลกเข้าสู่ยุคน้ำมันปาล์มแพง หลังอินโดฯ หั่นส่งออก-เร่งผลิตไบโอดีเซล (อ่าน 500 )
เวลาโพส : 2025-03-10 15:33:18
Rakayang
VIP รายงานรายเดือนน้ำมันและไขมันเดือนมีนาคม: พื้นที่ผลิตน้ำมันปาล์มยังคงให้ความสำคัญกับการดำเนินการตาม B40 ของอินโดนีเซีย (อ่าน 210 )
เวลาโพส : 2025-03-06 20:00:03
Rakayang
VIP การนำเข้าน้ำมันปาล์มของประเทศอินเดียในปีการตลาด 2024/25 ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนตุลาคม 2568 อาจลดลงเหลือต่ำถึง 7.5 ล้านเมตริกตัน ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี (อ่าน 202 )
เวลาโพส : 2025-02-28 13:03:17
Rakayang

กรุณาล็อคอิน ก่อนเข้าดูครับ