www.rakapalm.com
เว็บราคาปาล์ม อันดับ 1 ของไทย

หน้าแรก > ข่าวสำคัญ และ บทวิเคราะห์ราคาปาล์มทั่วไป (ทั่วโลก) > กฎระเบียบ EUDR มาตรการกีดกันทางการค้าหรือโอกาสทางการค้าของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไทย
กฎระเบียบ EUDR มาตรการกีดกันทางการค้าหรือโอกาสทางการค้าของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไทย

กฎระเบียบ EUDR มาตรการกีดกันทางการค้าหรือโอกาสทางการค้าของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไทย
 
Let’s get to know EUDR before assuming that it is a trade barrier.

ชวนมาทำความรู้จักกับกฎระเบียบ EUDR กัน ก่อนด่วนสรุปว่าเป็นมาตรการกีดกันทางการค้า

  • EU ออกกฎระเบียบ EUDR ขึ้นมาเพื่อลดการทำลายป่าไม้และปัญหาด้านแรงงานที่เกิดขึ้นจากภาคการเกษตร
  • ผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มของไทยต้องผ่านกฎระเบียบ EUDR ภายในปี พ.ศ. 2567 จึงสามารถส่งไปยุโรปได้
  • มาตรฐาน RSPO มีส่วนช่วยให้เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกปาล์มน้ำมันสามารถดำเนินการสอดคล้องกับกฎระเบียบ EUDR ได้ง่ายขึ้น

สหภาพยุโรป (EU) ได้กำหนดกฎระเบียบใหม่ที่เข้มงวดกว่าเดิม เพื่อพยายามลดปัญหาการทำลายพื้นที่ป่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ตลอดจนปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานจากภาคการเกษตรทั่วโลก ซึ่งมีชื่อว่า EU Deforestation Regulation หรือ EUDR กฎระเบียบ EUDR คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2567 ครอบคลุม 7 กลุ่มสินค้าที่ส่งผลกระทบต่อการทำลายป่ามากที่สุด ได้แก่ โกโก้ กาแฟ ถั่วเหลือง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน โค และเนื้อไม้ ตลอดจนผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสินค้าดังกล่าว เช่น ช็อกโกแลต เครื่องหนัง และเฟอร์นิเจอร์   ดังนั้นผู้ประกอบการธุรกิจที่จดทะเบียนอยู่ใน EU และคู่ค้าทางธุรกิจจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องและวิเคราะห์สถานะความเสี่ยง (due diligence) ในห่วงโซ่การผลิตของตนจนถึงแหล่งกำเนิด เพื่อพิสูจน์ว่าการดำเนินธุรกิจของตนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำลายพื้นที่ป่า

การทำ due diligence  ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน

  1. การรวบรวมข้อมูล – รวบรวมข้อมูลตลอดห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่แหล่งกำเนิด ได้แก่ พิกัดทางภูมิศาสตร์ของแปลงปลูก และระยะเวลาให้ผลผลิต
  2. การประเมินความเสี่ยง– นำข้อมูลที่รวบรวมมาประเมินความเสี่ยงต่อการทำลายพื้นที่ป่า และมีการกระทำขัดต่อกฎหมายระหว่างการผลิตหรือไม่
  3. การบรรเทาผลกระทบ– หากพบความเสี่ยง  ต้องดำเนินการลดความเสี่ยงให้ลงมาอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ (เช่น เก็บข้อมูลเพิ่มขึ้น สัมภาษณ์ ทดสอบในห้องปฏิบัติการ การตรวจประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ)

ในปี พ.ศ. 2565  ประเทศไทยได้ส่งออกสินค้า 7 กลุ่มดังกล่าวไป EU คิดเป็นมูลค่า 1.85 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์มากที่สุด คิดเป็น 11.5% รองลงมาคือไม้และผลิตภัณฑ์แปรรูป คิดเป็น 1.36% และปาล์มน้ำมันและอนุพันธ์ของน้ำมันปาล์ม คิดเป็น 1.30% ตามลำดับ แน่นอนว่า EUDR ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและเกษตรกรผู้ปลูกในประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การทำการเกษตรแบบยั่งยืนได้กลายเป็นรากฐานสําคัญในการได้รับความไว้วางใจจากตลาดยุโรป รัฐบาลไทยตระหนักถึงแรงกดดันจากสถานการณ์ดังกล่าวจึงเร่งดําเนินการปรับปรุงมาตรการตรวจสอบย้อนกลับ ยับยั้งการตัดไม้ทําลายป่า และแก้ไขปัญหาด้านสิทธิแรงงาน

หากเจาะดูอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของไทยจะพบว่า มากกว่า 90% ของพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในประเทศไทยปรับเปลี่ยนมาจากพื้นที่การเกษตรอื่นๆ เช่น สวนยางพารา สวนผลไม้ นาข้าว และส่วนมากเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันล้วนมีกรรมสิทธิถือครองที่ดินอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้นประเทศไทยถือว่ามีความได้เปรียบมากกว่าประเทศผู้ผลิตน้ำมันปาล์ม เช่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย

Top view of oil palm plantations and its fresh fruit bunches

ภาพถ่ายมุมบนของสวนปาล์มน้ำมันและทะลายปาล์มน้ำมัน

ความร่วมมือของผู้ประกอบการภายในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มและองค์กรระหว่างประเทศนับเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางสู่เป้าหมายความยั่งยืน โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (SPOPP) ดำเนินงานโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ให้การสนับสนุนเกษตรกรประมาณ 1,000 รายให้หันมาปลูกปาล์มแบบยั่งยืน ตลอดจนส่งเสริมให้ผ่านการรับรองมาตรฐานสากลอย่าง Roundtable on Sustainable Palm Oil (RSPO) นอกจากนั้น โครงการ SPOPP ได้เปิดตัวแอปพลิเคชันการจัดการฐานข้อมูลฟาร์มแบบดิจิทัลที่เรียกว่า “i-Palm” ซึ่งช่วยเกษตรกรในการรวบรวมข้อมูล เช่น พิกัดทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน และระยะเวลาการให้ผลผลิตปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นชุดข้อมูลที่จําเป็นต่อการตรวจสอบย้อนกลับในห่วงโซ่อุปทานไปยังแหล่งกำเนิด (traceability) และเป็นไปตามหลักการในการตรวจสอบความถูกต้องและวิเคราะห์สถานะความเสี่ยง (due diligence) ภายใต้กฎระเบียบ EUDR ดังนั้นสินค้าน้ำมันปาล์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน RSPO จึงมีความน่าเชื่อถือว่าไม่ตัดไม้ทําลายป่า ปกป้องสิ่งแวดล้อม และป้องกันการละเมิดสิทธิแรงงานในห่วงโซ่อุปทาน

แม้ว่าเส้นทางจะลําบาก แต่กฎระเบียบ EUDR กลับส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของไทยในการสร้างโอกาสทางการค้ามากกว่าเป็นมาตรการกีดกันทางการค้า ทั้งนี้ กฎระเบียบ EUDR ไม่เพียงแต่ช่วยปกป้องสิ่งแวดล้อมและปกป้องสิทธิมนุษยชน แต่ยังผลักดันนวัตกรรมหลายอย่างเพื่อมาสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืนและบรรลุเป้าหมาย ในการเป็นกลางทางคาร์บอน (net-zero) ของประเทศ หากประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบ EUDR ได้สำเร็จในอนาคตอันใกล้นี้ ก็จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายอื่นๆ ต่อไป



เวลาโพส : 2024-04-25 22:16:59

( แสดงความคิดเห็น )
1
กระทู้ล่าสุด
รายละเอีัยด
ผู้โพส
VIP กษ.นราธิวาส ร่วมตรวจสต็อกน้ำมันปาล์ม ประจำเดือนพฤษภาคม 2568 (อ่าน 50 )
เวลาโพส : 2025-05-07 13:31:48
Rakayang
VIP โรงสกัดปาล์มตรัง ขานรับค้าภายใน ซื้อปาล์ม 5 บาทต่อกก. แต่มีเงื่อนไข แบ่งราคารับซื้อ 3 กลุ่ม (อ่าน 58 )
เวลาโพส : 2025-05-06 20:10:29
Rakayang
VIP จังหวัดตรังตรวจสอบสต็อกน้ำมันปาล์มคงเหลือทั้งระบบ ณ วันที่ 30 เมษายน 2568 (อ่าน 293 )
เวลาโพส : 2025-04-30 16:42:27
Rakayang
VIP พาณิชย์จังหวัดชลบุรี ตรวจสอบสต๊อกน้ำมันปาล์มคงเหลือทั้งระบบ ระดับจังหวัด จังหวัดชลบุรี และผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ ลงพื้นที่ตรวจสอบสต๊อกน้ำมันปาล์มของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ในวันที่ 28 - 29 เมษายน 2568 (อ่าน 121 )
เวลาโพส : 2025-04-30 15:55:05
Rakayang
VIP พาณิชย์ ออก 4 มาตรการด่วน แก้ปัญหาราคาปาล์ม รับซื้อ 5 บาท/กก. ดีเดย์ 2 พ.ค. นี้ (อ่าน 577 )
เวลาโพส : 2025-04-30 12:57:26
Rakayang
VIP ชาวสวนปาล์มวิกฤตหนักราคาดิ่งหลังสงกรานต์ เหลือ 4 บาท/กก. (อ่าน 503 )
เวลาโพส : 2025-04-23 13:37:28
Rakayang
VIP น้ำมันปาล์ม: รหัสตลาดรอมฎอนปี 2024 และข้อเสนอแนะการกำหนดค่าภายใต้การผสมผสานของขาขึ้นและขาลงในปี 2025 (อ่าน 163 )
เวลาโพส : 2025-03-28 19:32:23
Rakayang
VIP รอยเตอร์ชี้ โลกเข้าสู่ยุคน้ำมันปาล์มแพง หลังอินโดฯ หั่นส่งออก-เร่งผลิตไบโอดีเซล (อ่าน 500 )
เวลาโพส : 2025-03-10 15:33:18
Rakayang
VIP รายงานรายเดือนน้ำมันและไขมันเดือนมีนาคม: พื้นที่ผลิตน้ำมันปาล์มยังคงให้ความสำคัญกับการดำเนินการตาม B40 ของอินโดนีเซีย (อ่าน 210 )
เวลาโพส : 2025-03-06 20:00:03
Rakayang
VIP การนำเข้าน้ำมันปาล์มของประเทศอินเดียในปีการตลาด 2024/25 ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนตุลาคม 2568 อาจลดลงเหลือต่ำถึง 7.5 ล้านเมตริกตัน ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี (อ่าน 202 )
เวลาโพส : 2025-02-28 13:03:17
Rakayang

กรุณาล็อคอิน ก่อนเข้าดูครับ